บทที่4 องค์กรแห่งการเรียนรู้

วิเคราะห์กรณีศึกษา 3 แห่ง

โรงพยาบาลศิริราช


เป้าหมาย
          “มีระบบเครือข่ายของการถ่ายโอนความรู้ด้าน CQI ทางคลีนิก เพื่อให้มี best practice ในการดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาลศิริราช”

วิธีการดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร
           ในระยะโครงการนำร่อง (พ.ศ. 2546-2547) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเลือกหัวข้อ “การทำ CQI (Continuous Quality Improvement) ทางคลินิก” มาดำเนินการจัดการความรู้ตามแนวทางโครงการการจัดการความรู้ในองค์กร” ของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
           ตั้งแต่การพัฒนาการจัดการความรู้ระยะที่ 1 เป็นต้นมา (พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน) การจัดการความรู้มีฐานะเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาคณะฯ สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ มุ่งสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน ทำให้การดำเนินการจัดการความรู้ต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์การพัฒนาคณะฯ กล่าวคือต้องตอบสนองความท้าทายภายในและภายนอก โดยมีกระบวนการจัดการความรู้ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ดังนี้

1. กำหนดทิศทาง โดยพิจารณาจากวิสัยทัศน์ สมรรถนะหลัก รวมทั้งวัฒนธรรมองค์กรของคณะ ความท้าทายภายในและภายนอก เช่น เป้าหมาย พ.ศ. 2552 ดำเนินการตามประเด็นของ KMA ตามหมวดต่างๆ เป้าหมาย พ.ศ. 2554 เกิดนวัตกรรมด้าน Safety Goals และเผยแพร่ในระดับชาติ (Sepsis)
2. สื่อสาร เสริมทักษะ โดยพิจารณาจากสถานการณ์ปัจจุบัน เปรียบเทียบกับเป้าหมาย เช่น เทคนิคการเล่าเรื่อง สุนทรียสนทนา การทบทวนหลังการปฏิบัติฯลฯ เพื่อนำไปสู่ Intellectual capital
3.บริหารจัดการด้วย Link-Share-Learn
          Link หมายถึง การส่งเสริมให้บุคลากรในหน่วยงานค้นหาความรู้ที่สำคัญและจำเป็นต่อการทำงานจากคลังความรู้
          Share หมายถึง การร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายโอน ต่อยอดความรู้ ทั้งภายใน/ภายนอกหน่วยงาน
          Learn หมายถึง การทบทวนและวิเคราะห์ผลลัพธ์การดำเนินการ (KPI) ข้อมูลรายงานอุบัติการณ์ความ
4.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ + จัดเก็บเป็นคลังความรู้ จัด Quality conference ทุกเดือน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมต่างๆ
5. ประเมินผล การเยี่ยมสำรวจภายในประจ าปี โดยเรียนรู้จากมาตรฐาน เกณฑ์ประเมินภายนอก กำหนดนโยบาย เกณฑ์การประเมิน  วิธีการ/รูปแบบ
6. ยกย่องเชิดชู ด้วยการจัดกิจกรรมโครงการติดดาว

ปัจจัยเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการจัดความรู้ขององค์กรหรือการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
1. ได้รับการสนับสนุน จากผู้นำ/ผู้บริหาร อย่างต่อเนื่อง
2. มีการกำหนดกลยุทธ์ & ผู้รับผิดชอบ ที่ชัดเจน และ มีการบูรณาการของทีม QD, UM, KM, R2R มุ่งเน้นการพัฒนาคน
3. สร้างความมีส่วนร่วมของทุกระดับ สามารถสร้างคุณค่าแก่ทุกฝ่าย มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญ และระบบสนับสนุนที่ครบถ้วน สอดคล้องกับทิศทางขององค์กรและสังคมอย่างสมดุล
4. มีการประเมินผล (ภายใน - ภายนอก) เพื่อพัฒนาต่อเนื่อง และต่อยอดสู่ความเป็นเลิศ
5. ใช้Siriraj KM strategy (Link – Share – Learn) & Siriraj culture ขับเคลื่อน
6. ที่สำคัญคือ ชาวศิริราชมีความมุ่งมั่นในการทำดีเพื่อส่วนรวม


บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด


เป้าหมาย
          เป็นองค์กรที่ได้รับการยกย่องในฐานะเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมที่น่าร่วมงานด้วย และเป็นแบบอย่างด้านบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

วิธีการดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร
1. การสำรวจตัวเอง ให้พนักงานกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มที่เป็นเอกสารหรือทางคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการทำ Knowledge Mapping , Competency , Coaching ,Counseling และการพัฒนาพนักงาน
2. Knowledge Mapping นำข้อมูลจากการสำรวจตัวเองมาทำตารางแสดงความสัมพันธ์กับความรู้ที่องค์กรต้องการ
3. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learn and Share Forum) เป็นการถ่ายทอด tacit knowledge จากคน สู่ คน จากคน สู่ สื่อที่เผยแพร่ต่อได้ง่าย มีผลในการกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร
4. Book Briefing อ่านหนังสือเป็นทีม คัดเลือกหนังสือที่น่าสนใจ แล้วแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ เช่น หมวด Innovation หมวด Marketing หมวด HRM เป็นต้น
5. ระบบให้การปรึกษา ผู้ที่มีข้อสงสัยในการทำงานสามารถ Post คำถามไว้ในระบบ ผู้เชี่ยวชาญในแต่ ละหมวดหมู่จะได้รับอีเมล์ แจ้งให้เข้ามาตอบ
6. KM Web Portal ประกอบด้วยหลายระบบดังนี้
          - ระบบบริหารผู้ใช้ เช่น การลงทะเบียน การเก็บข้อมูลของผู้ใช้ ฯลฯ
          - ระบบจัดการการเรียนรู้ เช่น การจัดผู้เรียน การจัดวิชาเรียน ฯลฯ
          - ระบบชุมชนนักปฏิบัติ(Community of Practice) เช่น การสร้างชุมชน การจัดการสมาชิกของชุมชน ฯลฯ
          - ระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Learn and Share) Web board, Blog/Chat room, Wiki / Video  ฯลฯ
          - ระบบแผนที่ความรู้(Knowledge Mapping) เพื่อให้ทราบว่าความรู้ที่ต้องการ สามารถหาได้จากที่ใดหรือจากบุคคลใด 
          - ระบบรายงาน เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับ Utilization ของระบบ รวมทั้งพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้
7. ระบบและโครงการอื่นๆ เช่น ระบบพี่เลี้ยง

ปัจจัยเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการจัดความรู้ขององค์กรหรือการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
1. การจัดการความรู้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายขององค์กร และเป็นไปในทิศทางเดียวกับกลยุทธ์ขององค์กร
2. วัฒนธรรมขององค์กรสนับสนุนให้เกิดการแบ่งปันความรู้ผู้บริหารเป็นตัวอย่างและให้การสนับสนุน
3. การจัดการความรู้เป็นส่วนหนึ่งของงานประจำ ไม่ใช่ภาระงานที่เพิ่มขึ้น
4. ระบบเทคโนโลยีเป็นระบบเดียวทั้งองค์กร ทำให้สะดวกในการสืบค้นข้อมูล
5. มีระบบการให้รางวัลและการยกย่องในรูปแบบต่างๆ ที่กระตุ้นให้คนสนใจที่จะแบ่งปันความรู้


บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)


เป้าหมาย
          การจัดการความรู้ให้กับสายงานต่างๆ เพิ่มความสามารถของสายงานและศักยภาพของพนักงานซึ่งพนักงานสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้กันอีกทั้งพนักงานสามารถหาความรู้ข้อมูลสารสนเทศต่างๆที่ทางบริษัทได้เตรียมไว้ให้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลให้พนักงานมีความสามารถเพิ่มขึ้นพร้อมที่จะให้บริการลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการของบริษัท ลูกค้าจะพึงพอใจต่อการให้บริการของพนักงานที่พร้อมทั้งความสามารถและระยะเวลาที่ให้บริการที่รวดเร็ว


วิธีการดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร
การดำเนินการตามโครงการสามารถแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้
          1. Culture Change ขั้นตอนการปรับเปลี่ยนและการจัดการพฤติกรรม โดยการปรับวิธีคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมของคนในองค์กรให้ไปในทิศทางเดียวกัน
          2. Communication ขั้นตอนการสื่อสารทั่วทั้งองค์กร โดยใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้พนักงานสามารถติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนกันได้สะดวก
          3. Process and Tool ขั้นตอนการพัฒนากระบวนการและเครื่องมือ มีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน และมีเครื่องมือที่ทันสมัย ต้องทำกระบวนการให้ง่ายและสะดวกใช้มากที่สุด
          4. Training/Learning ขั้นตอนการอบรมและการเรียนรู้ ฝึกให้คนสามารถใช้ระบบที่สร้างขึ้นมาและ พัฒนาคนให้มากพอจำนวนหนึ่งและทำแต่เนิ่นๆ เพื่อให้คนเหล่านี้สามารถช่วยเหลือระหว่างกันได้
          เทคนิคที่จะทำให้บุคลากรในองค์กรมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาแลอย่างต่อเนื่อง 5 ประการ ได้แก่
          4.1 Action Learning การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ
          4.2 Benchmarking มาตรฐานเปรียบเทียบ
          4.3  Coaching การสอนงานโดยหัวหน้าโดยตรง
          4.4 Mentoring การเป็นพี่เลี้ยง
          4.5 Portfolio แฟ้มงานเพื่อการพัฒนา
          5.Measurements ขั้นตอนการวัดและติดตามประเมินผลความสำเร็จและความผิดพลาดของโครงการเพื่อพัฒนาโครงการให้ดีขึ้น
          6.Recognition and Rewards ขั้นตอนการสร้างแรงจูงใจ การให้เกียรติและการให้รางวัล

ปัจจัยเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการจัดความรู้ขององค์กรหรือการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

           บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำในการให้บริการด้ารสื่อสารครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปัจจัยแห่งความสำเร็จอย่างหนึ่งของ ทรู คือ ความพึงพอใจของลูกค้า การให้บริการที่ดีเลิศต่อลูกค้าจึงมีความจำเป็นและสำคัญมาก ดังนั้น โครงการจัดการความรู้ในส่วนสายงาน Customer Management จึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อ ทรู เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าและพัฒนาการดำเนินงานรวมทั้งศักยภาพการแข่งขันขององค์กรโดยใช้รูปแบบการจัดการความรู้


การใช้เทคโนโลยีในกระบวนการจัดการความรู้


โรงพยาบาลศิริราช
           ทำการสื่อสารเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในองค์กร โดยกระทำอย่างทั่วถึง ต่อเนื่อง ผ่านช่องทางหลากหลาย เช่น สารศิริราช เสียงตามสาย บอร์ดประชาสัมพันธ์ การประชุม กิจกรรมประชาสัมพันธ์ ถ่ายทอดสู่สังคมผ่าน CSR Siriraj,KM website, KM Call, จัดทำฐานข้อมูล CQI และฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ CQI สร้างเครือข่าย, แลกเปลี่ยนความรู้ สร้างชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice – CoP) ปรับระบบสารสนเทศให้เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนความรู้Center  การจัดทำเป็นเอกสาร เช่น เอกสารคุณภาพ เอกสาร การสอน e-learning แนวปฏิบัติ คู่มือ ตำรา หนังสือ ผลงานวิจัย

บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด
ทำการสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ ได้แก่  อิเมล์ , เว็บไซต์ , โปสเตอร์ , สิ่งพิมพ์ภายใน SCG  และการถ่ายทอดสดผ่าน Internet นอกจากนี้ยังสร้างช่องทางในการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหลายๆรูปแบบ อาทิเช่น  ฐานความรู้ , ชุมชนนักปฏบัติ และ KM Web Portal

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
          Call Center ได้เข้าร่วมโครงการ KM กับสถาบันเพิ่มผลผลิต เกิดการพัฒนารูปแบบ KM Organization และจนปัจจุบันได้มีการพัฒนาจนได้ CM web Phase3 เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการจัดการความรู้ของบริษัท ทรู และเทคโนโลยีบล็อก (Blog หรือ Weblog) จนสามารถนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการสร้าง การแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ได้แก่
          - ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (Document and Content Management Systems)
          - ระบบสืบค้นข้อมูลข่าวสาร (Search Engines)
          - ระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning)
          - ระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Meeting Systems and VCD Conference)
          - ระบบการเผยแพร่สื่อผ่าน
          - ระบบเครือข่าย (e-Broadcasting)
          - KM Website


เนื้อหาข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์

โรงพยาบาลศิริราช


ข่าวสารและกิจกรรม
- ข่าวประชาสัมพันธ์
- ข่าวสารคุณภาพ
- ทันข่าวทันเหตุการณ์กับ KM
- โปสเตอร์
- ประชุม/อบรม
- KM E-NEWS
- QUIZ QUIZ QUIZ

ชุมชนนักปฏิบัติศิริราช
- หน่วยงานทางเทคนิค
- หน่วยงานสนับสนุน
- COP อย่างไม่เป็นทางการ ได้แก่ การจัดการความปวด
- สาระหน้ารู้เกี่ยวกับ COP

คลังความรู้
- การจัดการความรู้ ได้แก่ ประสบการณ์COP, ไฟล์นำเสนอ/บทเรียน, นิยามศัพท์
- การจัดการความปวด
- การบริหารทรัพยากรสุขภาพ
- การป้องกันการติดเชื้อ
- โครงการติดดาว
- ความรู้เรื่องยา ได้แก่ การจัดการเรื่องแพ้ยา, ยาที่มีความเสี่ยงสูง และความต่อเนื่องในการรักษาทางยา ซึ่งแบ่งเป็น MR. ผู้ป่วยใน และ MR. ADMISSION CENTER
- ถอดบทเรียนจากผู้เชี่ยวชาญ
- แนวทางการรักษาผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะ SEVERS SEPSIS/SEPTIC SHOCK
- บทเรียนจากการประชุมวิชาการ ได้แก่ HA NATIONAL FORUM, QUALITY CONFERENCE, QUALITY FAIR
- มหกรรมการจัดการความรู้
- เอกสาร/คู่มือต่างๆ ได้แก่ คู่มือเว็บไซต์
- เรื่องเล่า KM INSPIRATION ได้แก่ ผลงานเรื่องเล่า, ผลงานที่ได้รับรางวัล

สื่อการเรียนรู้
- บทเรียนผู้เชี่ยวชาญ
- KM SOFT LEARNING
- KM TOOL
- SLIDE & SOUND
- ทันข่าวทันเหตุการณ์กับ KM
- โปสเตอร์
- ประชุม/อบรม
- KM E-NEW
- QUIZ QUIZ QUIZ

บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด


ข้อมูลสำหรับนักลงทุน/หุ้นกู้
- หน้าหลักนักลงทุนสัมพันธ์
- ข้อมูลทางการเงิน ได้แก่ ข้อมูลสำคัญทางการเงิน, งบการเงิน, แบบฟอร์ม 56-1, MD&A
- เอกสารเผยแพร่ ได้แก่ รายงานประจำปี, รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- ข้อมูลราคาหลักทรัพย์ ได้แก่ ราคาหลักทรัพย์, ราคาย้อนหลัง, เครื่องคำนวณการลงทุน
การกำกับดูแลกิจการ
- ห้องข่าว  ได้แก่  ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์, ข่าวแจ้งสื่อมวลชน
- ข้อมูลสำหรับผู้ถือหุ้น  ได้แก่  ข้อมูลพื้นฐานการลงทุน, โครงสร้างผู้ถือหุ้น, การประชุมผู้ถือหุ้น
- หุ้นกู้  ได้แก่  ราคาหุ้นกู้, แบบฟอร์มเกี่ยวกับหุ้นกู้, SCG DEBENTURE CLUB, สิทธิประโยชน์  SCG DEBENTURE CLUB, DELICHT MAGAZINE, ถามตอบ
- เอกสารนำเสนอ (ENGLISH ONLY)
- WEBCAST
- SUPPLEMENTARY INFORMATION
- สอบถามข้อมูลนักลงทุน  ได้แก่  อีเมล์รับข่าวสาร, ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์, ถามตอบ

บรรษัทภิบาล
- คู่มือบรรษัทภิบาล
- คู่มือจรรยาบรรณเอสซีจี
- นโยบายการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน
- นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
- นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น
- หนังสือบริคณ์สนธิและข้อบังคับ
- ระบบรับข้อร้องเรียนและแจ้งเบาะแสเอสซีจี

การพัฒนาอย่างยั่งยืน
- หน้าหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- เศรษฐกิจหมุนเวียน
- ด้านบรรษัทภิบาล
- ด้านเศรษฐกิจ
- ด้านสิ่งแวดล้อม
- ด้านสังคม
- SD SYMPOSIUM
- รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- มูลนิธิ เอสซีจี

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)


เทรนเทคโนโลยี  
- TrueBusiness Techno Notes ประจำเดือน ตั้งแต่ปี 2558-2562

โซชูชั่นเพื่อธุรกิจ
- ด้านการตลาด
- ด้านโครงข่ายเน็ตเวิร์ก
- ด้านการป้องกันการโจมตีออนไลน์
- ด้านการจัดเก็บข้อมูลและคลาวด์
- ด้าน IoT

ข่าวสารและกิจกรรม  อิทิเช่น
- กิจกรรมเสริมความแกร่งให้ทีมงาน รับปี 2019 SEEDS FOR THE FUTURE
- ทรูบิสิเนส และ มศว. จับมือยกระดับการศึกษายุคดิจิทัลสู่ SMART UNIVERSITY

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น