บทที่1 แนวคิดเกี่ยวกับความรู้

ความหมายของความรู้ โดยนักวิชาการ 

Ikujiro Nomaka
          กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงความรู้ ระหว่าง Tacit Knowledge และ Explicit 
         มนุษย์คือผู้สร้างความรู้ คือวิถีการดำเนินชีวิตของคน การจัดการความรู้เพื่อให้คนได้เข้าถึงและใช้ความรู้อย่างเต็มประสิทธิภาพ


Hideo Yamazaki
          เป็นสารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิดเปรียบเทียบ เชื่อมโยงกับความรู้อื่น จนเกิดเป็นความเข้าใจและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการสรุปและตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ โดยไม่จำกัดช่วงเวลา



Davenport and Prusak
          การใช้ประสบการณ์ ค่านิยม สารสนเทศ ความชำนาญ และสัญชาติญาณในตัวเราเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมและกรอบการรวบรวมประเมินสารสนเทศและประสบการณ์ใหม่ๆที่ได้รับมา เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งวิธีการในการใช้จะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล




Peter Senge
          เสนอแนวความคิดของการสร้างองค์ความรู้ด้วยกรอบความรู้ 5 สาขาวิชาการ ที่เรียกว่า The five disciplines ประกอบด้วย การเรียนรู้ของสมาชิกในองค์กร(Personal Mastery, ความมีสติ(Mental Model, การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันของคนในองค์กร(Shared Vision, การเรียนรู้เป็นทีม(Team Learning) และ ระบบการคิดของคนในองค์กร






Peter Drucker 
         ความรู้เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยภูมิประเทศ บุคคลเป็นทรัพย์สินที่มีคุณค่ามากที่สุด ผู้บริหารจะต้องปลูกฝังและกระตุ้นการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ภายในบุคคลทุกคน


ประเวช วะสี
4 ประเภท ได้แก่ 
- ความรู้ธรรมชาติที่เป็นวัตถุ(วิทยาศาสตร์กายภาพ)
- ความรู้ทางสังคม(วิทยาศาสตร์สังคม)
- ความรู้ทางศาสนา(วิทยาศาสตร์ข้างใน)
- ความรู้เรื่องการจัดการ 
           โดยการจัดการความรู้มี 3 ระดับ คือ 
1) ระดับที่เกิดความรู้ หมายถึง การรู้ความจริง 
2) ระดับที่เกิดปัญญา หมายถึง ความสามารถในการบูรณาการความรู้ทั้ง 4 ด้าน ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิต 
3) ระดับที่เกิดจิตสำนึก หมายถึง การเกิดความเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ





วิจารณ์ พานิช
          สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติ






ประพนธ์ ผาสุกยึด
          การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ  และสามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้  ความรู้ไม่เหมือนทรัพย์สินอื่นๆ ที่ใช้แล้วหมดไป แต่ความรู้ถ้ายิ่งใช้ก็ยิ่งเพิ่มคุณค่า หรือยิ่งเพิ่ม ปริมาณมากขึ้น







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น