บทที่ 6 Joomla

Joomla (จูมล่า) คืออะไร?

          Joomla (จูมล่า) คือ CMS (ซีเอ็มเอส) ตัวหนึ่งจากหลายๆ ตัวที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน สำหรับคุณที่ยังไม่รู้จักว่า CMS คืออะไร ขออธิบายสั้นๆ เพิ่มเติมดังนี้ครับ CMS นั้นเป็นอักษรย่อของ คำว่า "Content Management System" (คอนเท้น เมเนจเม้น ซิสเต้ม) ซึ่งเมื่อแปลเป็นภาษาไทย หมายถึง ระบบบริหารจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ นั่นหมายความว่า สิ่งที่เราจะต้องดูแลก็คือเนื้อหาของเว็บไซต์ เช่น การเพิ่มบทความ การเพิ่มรูปภาพ หรือการปรับแต่งโยกย้ายโมดูลต่าง ๆ ไม่จำเป็นจะต้องมานั่งเขียน Code ด้วยภาษา HTML (เอ็ชทีเอ็มแอล), PHP (พีเอ็ชพี), SQL (เอสคิวแอล) เพียงแต่เรียนรู้วิธีการติดตั้ง การปรับแต่ง การใช้งาน CMS เท่านั้น สำหรับ Code (โค้ด) ต่าง ๆ ที่นำมาสร้าง และ ออกแบบเว็บไซต์ จะทำโดยทีมงานของผู้พัฒนา CMS ของแต่ละทีม ซึ่งทำให้ประหยัดเวลาในการสร้าง และออกแบบเว็บไซต์ ได้อย่างมาก
           Joomla เป็น CMS ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ เพราะมีระบบการจัดการเนื้อหาที่มีรูปแบบสากล การปรับแต่งหน้าตาของเว็บไซต์ทำได้ง่าย เพราะถูกออกแบบมาให้รองรับกับเทคโนโลยีการ ออกแบบเว็บไซต์ สมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการรองรับ Flash (เฟรช) หรือ GIF Animation (กิฟ อนิเมชัน) นอกจากนี้คุณยังสามารถ Download Template (ดาวน์โหลด เทมเพลต) ได้อย่างมากมายมีทั้งแบบที่สามารถนำมาใช้งานได้ฟรี หรือหากต้องการ Template (เทมเพลต) ที่มีประสิทธิภาพ และมีความสวยงาม ก็สามารถหาซื้อมาใช้ได้ เพราะมีเว็บไซต์ที่ให้บริการจัดทำ Template ของอยู่มากมาย จุดเด่นอีกจุดหนึ่งก็คือมี Extension (เอ็กเทนชัน) จำนวนมากให้เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้งาน เช่น Component (คอมโพเน้น) , Module (โมดูล), Plugin (ปลั๊กอิน) มีทั้งแบบฟรี และแบบต้องชำระเงิน สำหรับเว็บไซต์อย่างเป็นทางการคือ http://www.joomla.org เป็นศูนย์รวมข่าวสารการ Update Joomla และคุณสามารถ Download extension ต่างๆ
           Joomla มีการ Update (อัพเดท) อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เรามั่นใจได้ว่าการ ออกแบบเว็บไซต์ ด้วย CMS Joomla จะมีความปลอดภัย ซึ่งปัจจุบัน เป็นรุ่น 3.7.5 และที่สำคัญที่สุดคือ รองรับภาษาไทย 100% เพราะมีทีมงานที่คอยดูแลเรื่องภาษา ทำให้เราไม่ต้องมากังวลกับการใช้งานภาษาไทยว่าจะผิดเพี้ยนในส่วนใดหรือไม่ และในขณะนี้ Team ผู้พัฒนากำลังจะเปิดตัวรุ่นใหม่ คือ Joomla 3.8 ซึ่งในขณะนี้ก็ใกล้จะได้ใช้งาน Joomla 3.8 เวอร์ชันเต็มเร็วๆนี้ หากท่านใดใช้เวอร์ชั่นเก่าอยู่ก็แนะนำให้ Upgrade (อัพเกรด) ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของเว็บไซต์ของท่านเอง

อ้างอิง :Joomla (จูมล่า) คืออะไร จูมล่าใช้บริหารจัดการเว็บไซต์ CMS (ซีเอ็มเอส) ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย


ทำไมต้องเป็น Joomla?

- ใช้ง่าย (ต้องเรียนรู้)
- เปิดเผยโค้ด
- รองรับเว็บไซต์ขนาดใหญ่
- ลิขสิทธิ์เป็นแบบ GNU/GPL

คู่มือการติดตั้ง Joomla (3.6)

- ทำการ Download Joomla ลิงค์ดาวน์โหลด ไปที่ https://www.joomla.org/download.html
- ทำการแตกไฟล์ด้วย Zip และทำการสร้างไฟล์ฐานข้อมูล ดังนี้



การสร้างไฟล์ฐานข้อมูล MySQL

การติดตั้งจำเป็นต้องสร้างไฟล์ฐานข้อมูล MySQL สำหรับ Joomla! 3.6 ดังนี้
1. ก่อนอื่นให้เปิดใช้งานเว็บเซิร์ฟเวอร์ก่อน ดับเบิ้ลคลิกไอคอนของโปรแกรม Xampp หรือคลิกเลือกจาก Start Menu2. คลิก Start ในส่วน Apache และ MySQL
3. ตัวอย่างได้เปิดใช้งาน Xampp แล้ว ถ้าไม่เปิดจะสร้างฐานข้อมูล MySQL ไม่ได้
4. คลิกและพิมพ์ localhost/phpmyadmin
5. คลิกเลือก Database
6. คลิกและพิมพ์ชื่อฐานข้อมูลเช่น joomla36 แล้วคลิก Create
7. ตอนนี้เราก็จะได้ฐานข้อมูลสำหรับการติดตั้ง Joomla 3.6 เรียบร้อยแล้ว ชื่อ joomla36








สร้างโฟลเดอร์สำหรับติดตั้งและก็อปปี้ไฟล์ลงโฟลเดอร์
ในตัวอย่างนี้จะเป็นการทดลองติดตั้ง Joomla! 3.6 ในเครื่องของเราเอง โดยใช้ Xampp 1.8.2 จำลองเครื่องเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่ง ในที่นี้จะเป็นการติดตั้งบน Windows 7
1. เข้าไปในโฟลเดอร์ htdocs ของโปรแกรม Xampp ที่เราได้ติดตั้งไว้แล้ว ในหัวข้อก่อนหน้านี้
2. คลิก New folder เพื่อสร้างโฟลเดอร์ใหม่
3. จากตัวอย่างได้สร้างโฟลเดอร์ไว้แล้ว ชื่อ joomla36 โดยพิมพ์ชื่อแล้วกด Enter
4. จากนั้นดับเบิ้ลคลิกเข้าไปข้างในโฟลเดอร์ joomla36 รอไว้ก่อน เพื่อเตรียมก็อปปี้ไฟล์ของ Jomla 3.6 เข้ามา
5. กลับไปยังโฟลเดอร์ที่ได้แตกไฟล์ซิพ Joomla 3.6 ไว้แล้ว จัดการก็อปปี้ไฟล์ทั้งหมด เก็บไว้ โดยเลือกไฟล์ทั้งหมด คลิกที่ไฟล์ ใดไฟล์ หนึ่ง แล้วกด Ctrl + A ที่แป้นพิมพ์
6. คลิกขวาเรียกคำสั่งลัด คลิก Copy


ขั้นตอนการติดตั้ง Joomla! 3.6
ก่อนจะติดตั้ง อย่าลืมเปิดใช้งาน Xampp ก่อน ไม่เช่นนั้นจะติดตั้งไม่ได้
ขั้นที่ 1 
เริ่มการติดตั้ง โดยพิมพ์ localhost/ชื่อโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ของ Joomla! 3.6 ไว้ เช่น localhost/joomla36 กด Enter

ขั้นที่ 

จะเข้าสู่หน้าจอการติดตั้ง Joomla! 3.6 ให้ตั้งค่าต่างๆ ซึ่งมีส่วนที่ต้องกำหนดค่าดังนี้
- คลิกเลือกภาษา ที่ต้องการแสดงในขณะติดตั้งในส่วน Select Language
- Site Name พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ลงไป เช่น Joomla36
- Description พิม์สโลแกนเว็บไซต์ลงไป เนื่องจากเป็นการทดลองติดตั้ง ดังนั้นจะพิมพ์อะไรก็ได้สั้นๆ เกี่ยวกับเว็บ ไซต์- Admin Email พิมพ์อีเมล์ของเราลงไป ไม่ต้องจริงจัง เพราะเป็นการทดลองติดตั้ง- Admin Username พิมพ์ชื่อผู้ใช้ลงไป ปกติโปรแกรมจะตั้งชื่อเป็น Admin
- Admin Password พิมพ์รหัสผ่านลงไป เน้นง่ายๆ ไว้ก่อน เพราะเป็นการทดลองติดตั้ง- Confirm Admin Password พิมพ์รหัสผ่านลงไปอีกครั้ง

ขั้นที่ 
เสร็จแล้วคลิก Next ทำงานต่อไป




ขั้นที่ 
ป้อนรายละเอียดเกี่ยวกับฐานข้อมูล MySQL ลงไป แล้วคลิก Next
- Host Name ปกติจะเป็น localhost
- Username ป้อนลงไป ตามที่ได้สร้างไว้ใน PhpMyAdmin ปกติจะเป็น root
- Password ป้อนลงไป ตามที่ได้สร้างไว้ใน PhpMyAdmin ปกติจะเว้นว่าง ไม่ต้องพิมพ์
- Database Name ป้อนลงไป ตามที่ได้สร้างไว้ใน PhpMyAdmin เช่น jm34

ขั้นที่ 5
คลิก Next

ขั้นที่ 
จะไปขั้นตอนให้ดูภาพโดยรวมของสิ่งที่จะติดตั้ง ให้เลือกลักษณะการติดตั้ง มีหลายแบบเช่น Blog English ...




ขั้นที่ 
คลิก Install เริ่มต้นติดตั้ง

ขั้นที่ 
เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วจะเข้าสู่หน้าจอ Congratulations! Joomla! is now installed.

ขั้นที่ 
จะแสดงข้อความแจ้งให้ไปลบโฟลเดอร์ Installation ออกไปก่อน จะทำงานต่อ




ขั้นที่ 10 
ให้กลับไปในโปรแกรมจัดการไฟล์ แล้วลบโฟลเดอร์ installation ในโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ของ Joomla ออกไป เช่นใน โฟลเดอร์ joomla34

ขั้นที่ 11 
คลิก Administrator เพื่อเข้าระบบไปปรับแต่งหลังบ้านหรือปรับแต่ง Joomla 3.6

ขั้นที่ 12 
ในหน้าจอเข้าระบบการปรับแต่ง ให้ก็อปปี้หรือบุ๊คมาร์ค URL ไว้ด้วย เพื่อความสะดวกในการเข้าระบบ




อ้างอิง : การติดตั้ง Joomla 3.6 แบบ Localhost


คลิปสอนติดตั้ง joomla เพิ่มเติ

บทที่ 5 วัฏจักร (วงจรชีวิต) การพัฒนาระบบการจัดการความรู้

Conventional System Life Cycle วงจรชีวิตการพัฒนาระบบแบบดั้งเดิมเริ่มต้นจาก 

ขั้นตอนที่ Recognition of Need and Feasibility Study 
การกำหนดความต้องการของระบบ
ขั้นตอนที่ Functional Requirements Specifications 
กำหนดคุณสมบัติความต้องการ การทำงานของระบบ
ขั้นตอนที่ Logical Design (master design plan) 
การออกแบบเชิงตรรกะของระบบทั้งหมด(ในกระดาษ)
ขั้นตอนที่ Physical Design (coding) 
การออกแบบเชิงกายภาพ(การสร้างระบบขึ้นมาเอง)
ขั้นตอนที่ Testing 
การทดสอบระบบ
ขั้นตอนที่ Implementation (file conversion, user training) 
การนำระบบไปใช้งาน
ขั้นตอนที่ Operations and Maintenance 
การดำเนินงานและบำรุงรักษา



KM System Life Cycle วงจรการพัฒนาระบบการจัดการความรู้

ขั้นตอนที่ Evaluate Existing Infrastructure 
การประเมินโครงสร้างพื้นฐานของระบบที่มีอยู่
System justifications : พิจารณาจากคำถามต่อไปนี้
มีความรู้อะไรไหมที่มันจะหายไปจากการเกษียณอายุ หรือการเปลี่ยนหน่วยงาน หรือการออกจากที่ทำงานที่เดิมไปอยู่ที่ทำงานใหม่
ระบบ KM ที่นำมาเสนอต้องเอามาใช้ในหลายๆฝ่ายหรือไม่
ผู้เชี่ยวชาญมีอยู่เพียงพอหรือป่าวมีความตั้งใจที่อยากจะช่วยในการสร้างระบบ Km ขึ้นมาหรือป่าว
ปัญหาต่างๆที่ต้องการคำตอบต้องใช้เวลาหลายปีในการตอบหรือป่าว

The Scope Factor:
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องการพิจารณา
ต้องพิจารณาในเชิงลึกและกว้างของโครงการในเรื่องของการเงิน ทรัพยากรบุคคล และเงื่อนไขการปฏิบัติ
โปรเจค เป็นโปรเจคเร่งด่วนหรือป่าว
ตรวจสอบให้เห็นถึงเทคโนโลยีแมตกับเทคโนโลยีKMที่เราต้องการได้หรือป่าว

ขั้นตอนที่ Form the KM Team  
การจัดตั้งทีมงานจัดการความรู้
- ระบุผู้ที่เกี่ยวและความสำคัญของการพัฒนาระบบ KM
- ทีมจะประสบความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับ ความสามารถของคนในทีม, ขนาดของทีม ที่จะประสบความสำเร็จต้องมี 7 คน, ความซับซ้อน, ภาวะผู้นำ สามารถสั่งลูกน้องได้และเป็นแรงจูงใจของทีมว่าทีมมีแรงจูงใจมากน้อยขนาดไหน และทีมนั้นจะต้องไม่ไปสัญญาอะไรเกินเลยมากไปกว่าสิ่งที่จริงของระบบที่เราจะส่งมอบ

ขั้นตอนที่ Knowledge Capture 
การรวบรวมความรู้มาเก็บไว้เพื่อที่จะเอาข้อมูลความรู้เหล่านี้เข้าสู่ระบบ
Explicit การดึงความรู้จากสื่อที่หลากหลายหรือแหล่งความรู้ต่างๆๆ
Tacit การดึงความรู้จากผู้เชี่ยวชายองค์กรโดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย

ขั้นตอนที่ Design KMS Blueprint  
การออกแบบพิมพ์เขียวของการจัดการความรู้
ขอบเขตที่ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ
มีการตัดสินใจบนองค์ประกอบของความต้องการของระบบ
การพัฒนาระดับชั้นท่ำคัญของสถาปัตยกรรมของระบบ Km
- ระบบจะต้องมีความสามารถใช้งานระหว่างโครางสร้างพื้นฐานที่แตกต่างกัน

Layers of KM Architecture ระดับชั้นของสถาปัตยกรรม KM


ชั้นที่ 1 User Interface
ระดับบนคือระดับที่ติดต่อกับผู้ใช้ เห็นในรูปแบบของ เว็บไซต์
- มีความถูกต้อง ไม่ว่าประมวลผลกี่ครั้งก็จะได้แบบนั้น มองเห็นได้ชัดเจน มันสามารถใช้งานได้ง่าย มีลิงค์เป็นเครื่องนำทาง และง่ายต่อผู้ใช้
- มีการทดสอบความสามารถในการใช้งานโดยผู้ใช้งานจริงๆและเป็นการทดสอบสุดท้ายและยอมรับระบบ

ชั้นที่ 2 Authorized access control
การควบคุมสิทธิ์ในการเข้าถึง( การใส่พาสเวิร์ด )
- การรักษาความมั้นคงปลอดภัย เพื่อให้แน่ใจว่าสิทธิในการเข้าถึงไปยังแหล่งเก็บความรู้ที่อยู่ในแหล่งเก็บข้อมูลข้องบริษัทว่ามันได้รับสิทธิในการเข้าถึง
- การกำหนดสิทธิการเข้าถึงจะกำหนดที่จุดเชื่อมต่อแอสเซสพ้อย อินทราเน็ท กับเอ็กซ์ทราเน็ต

ชั้นที่ 3 Collaborative intelligence and filtering
การทำงานร่วมกันของส่วนกรองข้อมูล



ชั้นที่ 4 Knowledge-enabling applications

แอปพลิเคชั่นต่างๆที่ทำงานเกี่ยวกับระบบการจัดการความรู้(เช่น วิดีโอคอนเฟอร์เรนท์)
- แอปพลิเคชั่นจะจัดการกับฐานความรู้ มันสามารถที่จะจัดการเกี่ยวกับเครื่องมือต่างๆที่เอามาใช้ได้โดยอัติโนมัติ
- เป้าหมายสุดท้ายต้องการแสดงให้เห็นว่าการแบ่งปันความรู้แลกเปลี่ยนความรู้ทำให้ผลการปฏิบัติงานของพนักงานได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น

ชั้นที่ 5 Transport 

ชั้นนำส่งข้อมูล ประกอบไปด้วย โปรโตคอล
- ประกอบไปด้วย แลนด์ แวนด์ คือเทคนิคของเครือข่าย
- ภายในองค์กรมีการเชื่อมต่อเครือข่ายที่เราสามารถสร้างความสัมพันธ์ร่วมกันได้
- ประกอบด้วยมัลติมีเดีย การตั้งชื่อเว็บไซต์ ต้องเป็นชื่อที่จำง่าย เรื่อง กราฟฟิค ความเร็วในการเชื่อมต่อ ความกว้างของช่องสัญญาณในการติดต่อ

ชั้นที่ 6 Middleware 

ซอฟแวร์ที่มาช่วยทำให้การทำงานของแอปพลิเคชั่นกับเครือข่ายมันสามารถติอต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- นักออกแบบระบบควรจะกำหนดฐานข้อมูล และ โปรแกรมประยุกต์ซึ่งระบบจัดการความรู้จะต้องการทำการติดต่อด้วย
- ทำให้มันมีความเป็นไปได้ที่จะเชื่อมต่อระหว่างข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบเดิมและข้อมูลที่อยู่ในโครงสร้างใหม่สามารถติดต่อ ใช้งาน ร่วมกันได้

ชั้นที่ 7 The Physical Layer 

เป็นชั้นของสายสื่อสารและเป็นแหล่งเก็บข้อมูล
- แสดงให้เห็นถึงของชั้นทางกายภาพที่เป็นที่อยู่เป็นแหล่งเก็บข้อมูลและโปรแกรมขององค์กรที่ทำการติดตั้งอยุ่
- ประกอบไปด้วยคลังข้อมูล โปรแกรมประยุกต์เดิม ฐานข้อมูลที่ใช้ในการปฏิบัติงาน และ โปรแกรมประยุกต์พิเศษที่ใช้สำหรับเรื่องความมั่นคงปลอดภัย จัดการจราจรของข้อมูล


ขั้นตอนที่ Verify and validate the KM System 
การสร้างระบบขึ้นมา แล้วตรวจสอบว่าระบบมีความเหมาะสมหรือไม่ 
- ตรวจสอบความเหมาะสมของระบบเพื่อให้แน่ใจว่าระบบมีฟังค์ชั่นการทำงานที่ถุกต้องเหมาะสม
- วิธีการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าระบบได้ผลลัพธ์การประมวลผลที่ถูกต้อง
- ตรวจสอบความผิดพลาดที่ไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อ
  
ขั้นตอนที่ 6 Implement the KM System 
การเอาระบบ KM ไปใช้
- การนำไปปฏิบัติงานจริงๆในระบบ KM ใหม่และทำได้จริง
- การเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปของข้อมูลหรือไฟล์
- การอบรมผู้ใช้งาน

การประกันคุณภาพของระบบ
- Reasoning errors ความผิดพลาดเชิงเหตุเชิงผล
- Ambiguity ตรวจถึงความคุมเครือ
- Incompleteness อะไรที่ไม่สมบูรณ์ต้องไปแก้ให้สมบูรณ์
- False representation (false positive and false negative) ตรวจความผิดพลาดในลักษณะ false - --- positive เราตรวจแล้วมันถูกแต่จริงๆแล้วมันผิด มาจากการที่เขียนโปรแกรมผิด false negative เราตรวจแล้วมันให้คำตอบว่าผิดแต่จริงๆแล้วมันถูก


ขั้นตอนที่ 7 Manage Change and Rewards Structure 
การจัดการของการเปลี่ยนแปลงและขั้นตอนการของการให้รางวัล
- ต้องการลดแรงต่อต้านจากผู้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ใช้หรือจากผู้ที่ก่อกวนให้เกิดปัญหา
          Experts
          Regular employees (users)
          Troublemakers
- แรงต้านทานนี้แสดงออกมาจากการโต้ตอบเช่น การกำหนดพาสเวิร์ดที่ไม่ปฏิบัติ (พาสเวิร์ดยุ่งยาก)หรือหลีกเลี่ยง

ขั้นตอนที่ 8 Post-system evaluation  
การประเมินผลหลังจากที่เอาระบบไปใช้แล้ว
- ประเมินผลกระทบของระบบในแง่ของผลกระทบต่อ บุคคล  วิธีการปฏิบัติหรือผลการดำเนินงานของธุรกิจ
          People
          Procedures
          Performance of the business
- ขอบเขตที่เราต้องพิจารณา ผลลัพธ์ของการระบบไปใช้ทำให้เราได้ความรู้ในการตัดสินใจได้ดีขึ้น
          ต้องใช้การตัดสินใจที่มีคุณภาพทำให้เราแก้ผลกระทบที่เกิดขึ้นได้
          ดูจากทัศนคติของผู้ใช้งาน( อาจจะดีหรือไม่ดีก็ได้)
          ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากต้นทุน ที่เกิดจากการนำระบบไปใช้และไปประมวลรวมต้นทุนที่เกิดจากการปรับระบบให้ทันสมัยมากขึ้น

Key Differences ความแตกต่างที่สำคัญของระบบทั้ง 2 แบบ

- นักวิเคราะห์ระบบมีการจัดการกับสารสนเทศจากผู้ใช้ ส่วนนักพัฒนาความรู้จะจัดการความรู้ที่มาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
ผู้ใช้ รู้ปัญหาแต่ไม่รู้ทางแก้ แต่กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจะรู้ทั้งปัญหาและทางแก้ไข
วงจรการพัฒนาระบบแบบดั้งเดิมSLC โดยทั่วไปจะประกอบด้วยขั้นตอนการเรียงลำดับแต่ถ้า KM SLC การพัฒนาแบบเพิ่มพูลคือการเพิ่มไปทีละส่วนทีละส่วนและมีลักษณะการโต้ตอบ
การทดสอบระบบโดยปกติแล้วจะกระทำในขั้นตอนสุดท้ายของวงจรแต่ถ้าเป็น KM System จะเข้าไปเกี่ยวของการทดสอบตั้งแต่เริ่มต้นของวงจรการพัฒนาระบบ
การพัฒนาระบบแบบดั้งเดิมขับเคลื่นด้วยกระบวนการ หรือ เรียกอีกคำว่า มีการกำหนดความต้องการเสร็จแล้วสร้างมันขึ้นมา แต่  KM System วงจรชีวิตของ KM จะมุ่งเน้นถึงผลลัพธ์ จะต้องได้ระบบแบบนี้ขึ้นมาใช้ มีการเริ่มต้นแบบช้าๆแต่เติบโตไปเรื่อยๆ


Key Similarities ข้อเหมือนกันที่สำคัญของ 2 ระบบ

- ทั้ง 2 ระบบเริ่มต้นจากปัญหาและไปจบที่ทางแก้
ทั้ง 2 ระบบเริ่มต้นจากการเก็บรวบรวมสารสนเทศ
การทดสอบมีความสำคัญเหมือนกันเพื่อให้แน่ใจว่าระบบทำงานได้ถูกต้องได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง มันเป็นระบบที่เหมาะสม
- ผู้พัฒนาระบบทั้ง 2 แบบมักจำเลือกเครื่องมือที่เหมาะหลายๆเครื่องมือมาใข้การออกแบบระบบที่คาดหวังหรือระบบที่ต้องการ

บทที่4 องค์กรแห่งการเรียนรู้

วิเคราะห์กรณีศึกษา 3 แห่ง

โรงพยาบาลศิริราช


เป้าหมาย
          “มีระบบเครือข่ายของการถ่ายโอนความรู้ด้าน CQI ทางคลีนิก เพื่อให้มี best practice ในการดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาลศิริราช”

วิธีการดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร
           ในระยะโครงการนำร่อง (พ.ศ. 2546-2547) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเลือกหัวข้อ “การทำ CQI (Continuous Quality Improvement) ทางคลินิก” มาดำเนินการจัดการความรู้ตามแนวทางโครงการการจัดการความรู้ในองค์กร” ของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
           ตั้งแต่การพัฒนาการจัดการความรู้ระยะที่ 1 เป็นต้นมา (พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน) การจัดการความรู้มีฐานะเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาคณะฯ สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ มุ่งสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน ทำให้การดำเนินการจัดการความรู้ต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์การพัฒนาคณะฯ กล่าวคือต้องตอบสนองความท้าทายภายในและภายนอก โดยมีกระบวนการจัดการความรู้ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ดังนี้

1. กำหนดทิศทาง โดยพิจารณาจากวิสัยทัศน์ สมรรถนะหลัก รวมทั้งวัฒนธรรมองค์กรของคณะ ความท้าทายภายในและภายนอก เช่น เป้าหมาย พ.ศ. 2552 ดำเนินการตามประเด็นของ KMA ตามหมวดต่างๆ เป้าหมาย พ.ศ. 2554 เกิดนวัตกรรมด้าน Safety Goals และเผยแพร่ในระดับชาติ (Sepsis)
2. สื่อสาร เสริมทักษะ โดยพิจารณาจากสถานการณ์ปัจจุบัน เปรียบเทียบกับเป้าหมาย เช่น เทคนิคการเล่าเรื่อง สุนทรียสนทนา การทบทวนหลังการปฏิบัติฯลฯ เพื่อนำไปสู่ Intellectual capital
3.บริหารจัดการด้วย Link-Share-Learn
          Link หมายถึง การส่งเสริมให้บุคลากรในหน่วยงานค้นหาความรู้ที่สำคัญและจำเป็นต่อการทำงานจากคลังความรู้
          Share หมายถึง การร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายโอน ต่อยอดความรู้ ทั้งภายใน/ภายนอกหน่วยงาน
          Learn หมายถึง การทบทวนและวิเคราะห์ผลลัพธ์การดำเนินการ (KPI) ข้อมูลรายงานอุบัติการณ์ความ
4.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ + จัดเก็บเป็นคลังความรู้ จัด Quality conference ทุกเดือน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมต่างๆ
5. ประเมินผล การเยี่ยมสำรวจภายในประจ าปี โดยเรียนรู้จากมาตรฐาน เกณฑ์ประเมินภายนอก กำหนดนโยบาย เกณฑ์การประเมิน  วิธีการ/รูปแบบ
6. ยกย่องเชิดชู ด้วยการจัดกิจกรรมโครงการติดดาว

ปัจจัยเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการจัดความรู้ขององค์กรหรือการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
1. ได้รับการสนับสนุน จากผู้นำ/ผู้บริหาร อย่างต่อเนื่อง
2. มีการกำหนดกลยุทธ์ & ผู้รับผิดชอบ ที่ชัดเจน และ มีการบูรณาการของทีม QD, UM, KM, R2R มุ่งเน้นการพัฒนาคน
3. สร้างความมีส่วนร่วมของทุกระดับ สามารถสร้างคุณค่าแก่ทุกฝ่าย มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญ และระบบสนับสนุนที่ครบถ้วน สอดคล้องกับทิศทางขององค์กรและสังคมอย่างสมดุล
4. มีการประเมินผล (ภายใน - ภายนอก) เพื่อพัฒนาต่อเนื่อง และต่อยอดสู่ความเป็นเลิศ
5. ใช้Siriraj KM strategy (Link – Share – Learn) & Siriraj culture ขับเคลื่อน
6. ที่สำคัญคือ ชาวศิริราชมีความมุ่งมั่นในการทำดีเพื่อส่วนรวม


บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด


เป้าหมาย
          เป็นองค์กรที่ได้รับการยกย่องในฐานะเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมที่น่าร่วมงานด้วย และเป็นแบบอย่างด้านบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

วิธีการดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร
1. การสำรวจตัวเอง ให้พนักงานกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มที่เป็นเอกสารหรือทางคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการทำ Knowledge Mapping , Competency , Coaching ,Counseling และการพัฒนาพนักงาน
2. Knowledge Mapping นำข้อมูลจากการสำรวจตัวเองมาทำตารางแสดงความสัมพันธ์กับความรู้ที่องค์กรต้องการ
3. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learn and Share Forum) เป็นการถ่ายทอด tacit knowledge จากคน สู่ คน จากคน สู่ สื่อที่เผยแพร่ต่อได้ง่าย มีผลในการกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร
4. Book Briefing อ่านหนังสือเป็นทีม คัดเลือกหนังสือที่น่าสนใจ แล้วแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ เช่น หมวด Innovation หมวด Marketing หมวด HRM เป็นต้น
5. ระบบให้การปรึกษา ผู้ที่มีข้อสงสัยในการทำงานสามารถ Post คำถามไว้ในระบบ ผู้เชี่ยวชาญในแต่ ละหมวดหมู่จะได้รับอีเมล์ แจ้งให้เข้ามาตอบ
6. KM Web Portal ประกอบด้วยหลายระบบดังนี้
          - ระบบบริหารผู้ใช้ เช่น การลงทะเบียน การเก็บข้อมูลของผู้ใช้ ฯลฯ
          - ระบบจัดการการเรียนรู้ เช่น การจัดผู้เรียน การจัดวิชาเรียน ฯลฯ
          - ระบบชุมชนนักปฏิบัติ(Community of Practice) เช่น การสร้างชุมชน การจัดการสมาชิกของชุมชน ฯลฯ
          - ระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Learn and Share) Web board, Blog/Chat room, Wiki / Video  ฯลฯ
          - ระบบแผนที่ความรู้(Knowledge Mapping) เพื่อให้ทราบว่าความรู้ที่ต้องการ สามารถหาได้จากที่ใดหรือจากบุคคลใด 
          - ระบบรายงาน เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับ Utilization ของระบบ รวมทั้งพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้
7. ระบบและโครงการอื่นๆ เช่น ระบบพี่เลี้ยง

ปัจจัยเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการจัดความรู้ขององค์กรหรือการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
1. การจัดการความรู้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายขององค์กร และเป็นไปในทิศทางเดียวกับกลยุทธ์ขององค์กร
2. วัฒนธรรมขององค์กรสนับสนุนให้เกิดการแบ่งปันความรู้ผู้บริหารเป็นตัวอย่างและให้การสนับสนุน
3. การจัดการความรู้เป็นส่วนหนึ่งของงานประจำ ไม่ใช่ภาระงานที่เพิ่มขึ้น
4. ระบบเทคโนโลยีเป็นระบบเดียวทั้งองค์กร ทำให้สะดวกในการสืบค้นข้อมูล
5. มีระบบการให้รางวัลและการยกย่องในรูปแบบต่างๆ ที่กระตุ้นให้คนสนใจที่จะแบ่งปันความรู้


บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)


เป้าหมาย
          การจัดการความรู้ให้กับสายงานต่างๆ เพิ่มความสามารถของสายงานและศักยภาพของพนักงานซึ่งพนักงานสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้กันอีกทั้งพนักงานสามารถหาความรู้ข้อมูลสารสนเทศต่างๆที่ทางบริษัทได้เตรียมไว้ให้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลให้พนักงานมีความสามารถเพิ่มขึ้นพร้อมที่จะให้บริการลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการของบริษัท ลูกค้าจะพึงพอใจต่อการให้บริการของพนักงานที่พร้อมทั้งความสามารถและระยะเวลาที่ให้บริการที่รวดเร็ว


วิธีการดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร
การดำเนินการตามโครงการสามารถแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้
          1. Culture Change ขั้นตอนการปรับเปลี่ยนและการจัดการพฤติกรรม โดยการปรับวิธีคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมของคนในองค์กรให้ไปในทิศทางเดียวกัน
          2. Communication ขั้นตอนการสื่อสารทั่วทั้งองค์กร โดยใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้พนักงานสามารถติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนกันได้สะดวก
          3. Process and Tool ขั้นตอนการพัฒนากระบวนการและเครื่องมือ มีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน และมีเครื่องมือที่ทันสมัย ต้องทำกระบวนการให้ง่ายและสะดวกใช้มากที่สุด
          4. Training/Learning ขั้นตอนการอบรมและการเรียนรู้ ฝึกให้คนสามารถใช้ระบบที่สร้างขึ้นมาและ พัฒนาคนให้มากพอจำนวนหนึ่งและทำแต่เนิ่นๆ เพื่อให้คนเหล่านี้สามารถช่วยเหลือระหว่างกันได้
          เทคนิคที่จะทำให้บุคลากรในองค์กรมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาแลอย่างต่อเนื่อง 5 ประการ ได้แก่
          4.1 Action Learning การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ
          4.2 Benchmarking มาตรฐานเปรียบเทียบ
          4.3  Coaching การสอนงานโดยหัวหน้าโดยตรง
          4.4 Mentoring การเป็นพี่เลี้ยง
          4.5 Portfolio แฟ้มงานเพื่อการพัฒนา
          5.Measurements ขั้นตอนการวัดและติดตามประเมินผลความสำเร็จและความผิดพลาดของโครงการเพื่อพัฒนาโครงการให้ดีขึ้น
          6.Recognition and Rewards ขั้นตอนการสร้างแรงจูงใจ การให้เกียรติและการให้รางวัล

ปัจจัยเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการจัดความรู้ขององค์กรหรือการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

           บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำในการให้บริการด้ารสื่อสารครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปัจจัยแห่งความสำเร็จอย่างหนึ่งของ ทรู คือ ความพึงพอใจของลูกค้า การให้บริการที่ดีเลิศต่อลูกค้าจึงมีความจำเป็นและสำคัญมาก ดังนั้น โครงการจัดการความรู้ในส่วนสายงาน Customer Management จึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อ ทรู เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าและพัฒนาการดำเนินงานรวมทั้งศักยภาพการแข่งขันขององค์กรโดยใช้รูปแบบการจัดการความรู้


การใช้เทคโนโลยีในกระบวนการจัดการความรู้


โรงพยาบาลศิริราช
           ทำการสื่อสารเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในองค์กร โดยกระทำอย่างทั่วถึง ต่อเนื่อง ผ่านช่องทางหลากหลาย เช่น สารศิริราช เสียงตามสาย บอร์ดประชาสัมพันธ์ การประชุม กิจกรรมประชาสัมพันธ์ ถ่ายทอดสู่สังคมผ่าน CSR Siriraj,KM website, KM Call, จัดทำฐานข้อมูล CQI และฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ CQI สร้างเครือข่าย, แลกเปลี่ยนความรู้ สร้างชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice – CoP) ปรับระบบสารสนเทศให้เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนความรู้Center  การจัดทำเป็นเอกสาร เช่น เอกสารคุณภาพ เอกสาร การสอน e-learning แนวปฏิบัติ คู่มือ ตำรา หนังสือ ผลงานวิจัย

บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด
ทำการสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ ได้แก่  อิเมล์ , เว็บไซต์ , โปสเตอร์ , สิ่งพิมพ์ภายใน SCG  และการถ่ายทอดสดผ่าน Internet นอกจากนี้ยังสร้างช่องทางในการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหลายๆรูปแบบ อาทิเช่น  ฐานความรู้ , ชุมชนนักปฏบัติ และ KM Web Portal

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
          Call Center ได้เข้าร่วมโครงการ KM กับสถาบันเพิ่มผลผลิต เกิดการพัฒนารูปแบบ KM Organization และจนปัจจุบันได้มีการพัฒนาจนได้ CM web Phase3 เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการจัดการความรู้ของบริษัท ทรู และเทคโนโลยีบล็อก (Blog หรือ Weblog) จนสามารถนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการสร้าง การแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ได้แก่
          - ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (Document and Content Management Systems)
          - ระบบสืบค้นข้อมูลข่าวสาร (Search Engines)
          - ระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning)
          - ระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Meeting Systems and VCD Conference)
          - ระบบการเผยแพร่สื่อผ่าน
          - ระบบเครือข่าย (e-Broadcasting)
          - KM Website


เนื้อหาข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์

โรงพยาบาลศิริราช


ข่าวสารและกิจกรรม
- ข่าวประชาสัมพันธ์
- ข่าวสารคุณภาพ
- ทันข่าวทันเหตุการณ์กับ KM
- โปสเตอร์
- ประชุม/อบรม
- KM E-NEWS
- QUIZ QUIZ QUIZ

ชุมชนนักปฏิบัติศิริราช
- หน่วยงานทางเทคนิค
- หน่วยงานสนับสนุน
- COP อย่างไม่เป็นทางการ ได้แก่ การจัดการความปวด
- สาระหน้ารู้เกี่ยวกับ COP

คลังความรู้
- การจัดการความรู้ ได้แก่ ประสบการณ์COP, ไฟล์นำเสนอ/บทเรียน, นิยามศัพท์
- การจัดการความปวด
- การบริหารทรัพยากรสุขภาพ
- การป้องกันการติดเชื้อ
- โครงการติดดาว
- ความรู้เรื่องยา ได้แก่ การจัดการเรื่องแพ้ยา, ยาที่มีความเสี่ยงสูง และความต่อเนื่องในการรักษาทางยา ซึ่งแบ่งเป็น MR. ผู้ป่วยใน และ MR. ADMISSION CENTER
- ถอดบทเรียนจากผู้เชี่ยวชาญ
- แนวทางการรักษาผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะ SEVERS SEPSIS/SEPTIC SHOCK
- บทเรียนจากการประชุมวิชาการ ได้แก่ HA NATIONAL FORUM, QUALITY CONFERENCE, QUALITY FAIR
- มหกรรมการจัดการความรู้
- เอกสาร/คู่มือต่างๆ ได้แก่ คู่มือเว็บไซต์
- เรื่องเล่า KM INSPIRATION ได้แก่ ผลงานเรื่องเล่า, ผลงานที่ได้รับรางวัล

สื่อการเรียนรู้
- บทเรียนผู้เชี่ยวชาญ
- KM SOFT LEARNING
- KM TOOL
- SLIDE & SOUND
- ทันข่าวทันเหตุการณ์กับ KM
- โปสเตอร์
- ประชุม/อบรม
- KM E-NEW
- QUIZ QUIZ QUIZ

บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด


ข้อมูลสำหรับนักลงทุน/หุ้นกู้
- หน้าหลักนักลงทุนสัมพันธ์
- ข้อมูลทางการเงิน ได้แก่ ข้อมูลสำคัญทางการเงิน, งบการเงิน, แบบฟอร์ม 56-1, MD&A
- เอกสารเผยแพร่ ได้แก่ รายงานประจำปี, รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- ข้อมูลราคาหลักทรัพย์ ได้แก่ ราคาหลักทรัพย์, ราคาย้อนหลัง, เครื่องคำนวณการลงทุน
การกำกับดูแลกิจการ
- ห้องข่าว  ได้แก่  ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์, ข่าวแจ้งสื่อมวลชน
- ข้อมูลสำหรับผู้ถือหุ้น  ได้แก่  ข้อมูลพื้นฐานการลงทุน, โครงสร้างผู้ถือหุ้น, การประชุมผู้ถือหุ้น
- หุ้นกู้  ได้แก่  ราคาหุ้นกู้, แบบฟอร์มเกี่ยวกับหุ้นกู้, SCG DEBENTURE CLUB, สิทธิประโยชน์  SCG DEBENTURE CLUB, DELICHT MAGAZINE, ถามตอบ
- เอกสารนำเสนอ (ENGLISH ONLY)
- WEBCAST
- SUPPLEMENTARY INFORMATION
- สอบถามข้อมูลนักลงทุน  ได้แก่  อีเมล์รับข่าวสาร, ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์, ถามตอบ

บรรษัทภิบาล
- คู่มือบรรษัทภิบาล
- คู่มือจรรยาบรรณเอสซีจี
- นโยบายการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน
- นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
- นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น
- หนังสือบริคณ์สนธิและข้อบังคับ
- ระบบรับข้อร้องเรียนและแจ้งเบาะแสเอสซีจี

การพัฒนาอย่างยั่งยืน
- หน้าหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- เศรษฐกิจหมุนเวียน
- ด้านบรรษัทภิบาล
- ด้านเศรษฐกิจ
- ด้านสิ่งแวดล้อม
- ด้านสังคม
- SD SYMPOSIUM
- รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- มูลนิธิ เอสซีจี

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)


เทรนเทคโนโลยี  
- TrueBusiness Techno Notes ประจำเดือน ตั้งแต่ปี 2558-2562

โซชูชั่นเพื่อธุรกิจ
- ด้านการตลาด
- ด้านโครงข่ายเน็ตเวิร์ก
- ด้านการป้องกันการโจมตีออนไลน์
- ด้านการจัดเก็บข้อมูลและคลาวด์
- ด้าน IoT

ข่าวสารและกิจกรรม  อิทิเช่น
- กิจกรรมเสริมความแกร่งให้ทีมงาน รับปี 2019 SEEDS FOR THE FUTURE
- ทรูบิสิเนส และ มศว. จับมือยกระดับการศึกษายุคดิจิทัลสู่ SMART UNIVERSITY